ประวัติโดยย่อจังหวัดร้อยเอ็ด
ประวัติจังหวัดร้อยเอ็ด
เมืองร้อยเอ็ดเจ็ดประตูแต่โบราณนั้น มาสิ้นชื่อสูญไปเพราะน้ำตามตำนานเมืองเล่าว่า เกิดน้ำท่วมใหญ่ จนกระทั่งเมืองร้อยเอ็ดถล่ม จนหายกลายเป็นเมืองร้าง ก็คงเหมือนสมัยน้ำท่วมโลกที่ปรากฏในคัมภีร์ไปเบิลครั้งโนอานั่นกระมังเมืองร้อยเอ็ดเลยร้างไปแต่ครั้งนั้นส่วนประวัติศาสตร์ใหม่ของ เมืองร้อยเอ็ด มาเริ่มอีกทีก็ในปีพ.ศ. 2256 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งกระนั้นนครจำปาศักดิ์ อันเป็นเมืองใหญ่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบันยังเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรอยุธยา มีเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เป็นเจ้าผู้ปกครองนครจำปาศักดิ์ ในบรรดาผู้ที่เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูล เคารพนับถือ มีพระอาจารย์เก่าแก่ของพระองค์คนหนึ่งคือ พระอาจารย์แก้ว ซึ่งเคยมีบุญคุณกันมาเลี้ยงดูอุปการะเป็นอย่างดี เมื่อพระองค์มีอำนาจวาสนานับเป็นกตัญญูกตเวทีน่าสรรเสริญ ครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2261 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้มอบไพร่พลให้พระอาจารย์แก้วประมาณสามพะนคร ไปหาที่สร้างเมืองขึ้นปกครอง พระอาจารย์แก้วจึงเดินทางข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาสู่แผ่นดินภาคอีสานปัจจุบัน ผ่านมาทางเขตเมืองอุบลราชธานี ยโสธรซึ่งสมัยนั้นยังเป็นแผ่นดินร้างว่างเปล่า จนกระทั่งถึงริมแม่น้ำเสียวในเขตบ้านทุ่ง ที่ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิของร้อยเอ็ด ณ บ้านทุ่ง พระอาจารย์แก้วได้สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นนั่นเสร็จแล้วก็ขึ้นปกครองบ้านเมืองอยู่ได้เพียง 2 ปี ก็ถึงอนิจกรรม เมื่อ ปี พ.ศ. 2263 ดังนั้น เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงโปรดฯ ให้ท้าวมืด บุตรชายคนโตของพระอาจารย์แก้ว เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมา โดยมีท้าวทน น้องชายเป็นอุปฮาด
ประวัติเมืองร้อยเอ็ดเล่าว่า การที่บุตรชายคนโตของพระอาจารย์แก้วมีนามว่า ท้าวมืด นั้นก็เพราะเกิดในวันที่มีสุริยุปราคา ท้องฟ้ามืดมิดเหมือนกลางคืน ก็เลยตั้งชื่อบุตรชายว่า ท้าวมืดท้าวมืดปกครองบ้านทุ่งหรือเมืองสุวรรณภูมิอยู่นานถึง 43 ปี นับว่าอายุยืนยาว มาถึงอนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2306 พอท้าวมืดตายไปความยุ่งยากก็เกิดขึ้นที่เมืองสุวรรณภูมิ นับถือ บุตรชายสองคนของท้าวมืด คือ ท้าวเชียง และ ท้าวศูนย์ อยากจะขึ้นครองเมืองสุวรรณภูมิเสียงเอง แต่ท้าวทนซึ่งเป็นอาและเป็นอุปฮาดก็ไม่ฟังเสียงขึ้นครองเมืองสุวรรณภูมิต่อมา เป็นเหตุให้เท้าเชียงและท้าวศูนย์ไม่พอใจอย่างยิ่งจึงพากันหนีจากเมืองสุวรรณภูมิลงมาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยาของพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พร้อมกับของทัพไปตีเมืองสุวรรณภูมิ ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ ณ กรุงศรีอยุธยา โปรด ฯ ให้พระยาพรหม และ พระยากรมท่า เดินทางไปจัดการบ้านเมืองแถบนี้ให้เรียบร้อย โดยมีท้าวเชียงและท้าวศูนย์ ร่วมมาในคราวนั้นพร้อมด้วยไพร่พลส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาข่าวหลายทั้งสองไปขอทัพจากกรุงศรีอยุธยารู้ถึงท้าวทน ก็รู้สึกแค้นในเป็นประมาณ แต่ก็ไม่อาจจะสู้ทัพกรุงศรีอยุธยาได้ พอกองทัพจวนจะมาถึงท้าวทนก็หนีออกจากเมืองทุ่ง ไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านกุดจอก หรือบ้านดงเมืองจอก หรือบ้านดงเมืองจอก ซึ่งอยู่ในในเขตอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน เมื่อพระยาพรหม พระยากรมท่า ท้าวเชียง และ ท้าวศูนย์มาถึงเมืองทุ่งก็เข้าได้โดยง่าย พระยาพรหม พระยากรมท่าได้ให้ท้าวเชียงขึ้นครองทุ่งและท้าวศูนย์เป็นอุปฮาด ก็นับว่าเป็นที่สมปรารถนาของท้าวเอทั้งสอง ด้วยเหตุนี้เอง อาณาเขตของเมืองทุ่งจึงตกอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุยา แทนที่จะขึ้นต่อนครจำปาศักดิ์เหมือนเดิม
ท้าวเชียงและท้าวศูนย์นั้น เห็นทีจะเป็นผุ้มีสติปัญญาอ่อนแอด้วยปรากฏว่า เมื่อขึ้นนั่งเมืองแล้ว ท้าวเชียงต้องไปอ้อนวอนขอโทษท้าวทนผู้เป็นอา ให้มาช่วยปกครองบ้านเมือง คล้ายๆกับเป็นที่ปรึกษาท้าวทนถึงจะโกธรหลายแต่ก็ทนอ้อนวอนไม่ไหว จึงมาช่วยปกครองเมืองสืบมา ในปี พ.ศ. 2315 ได้ย้ายที่ตั้งเมืองจากบ้านทุ่งไปตั้งที่บ้านดงช้างสาร ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองเดิมประมาณ 100 เส้น หรือ 4 กิโลเมตรเมื่อสร้างเมืองใหม่แล้วก็ให้ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ และนี่ก็คืออำเภอหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นเองเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2318
ท้าวทน ซึ่งมาช่วยหลานปกครองเมืองสุวรรณภูมิ ทนเหมือนชื่อต่อไปอีกไม่ไหว จึงชวนสมัครพรรคพวกที่ภักดีต่อตน พร้อมกับเทครัวอพยพออกจากเมืองสุวรรณภูมิ เดินทางมุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือหวังไปตาบเอาดาบหน้า จนกระทั่งมาถึงบริเวณบ้านกุ่ม อันเคยเป็นที่ตั้งเมืองร้อยเอ็ดแต่โบราณ ซึ่งร้างไปเป็นร้อยๆ ปีมาแล้ว ท้าวทนเห็นว่าบริเวณนี้เป็นชัยภูมิอันดี ควรจะตั้งเมืองใหม่ จึงหยุดพักไพร่พลสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ บริเวณเก่าของร้อยเอ็ดเจ็ดประตู
เมื่อสร้างเมืองขึ้นแล้ว ก็มีใบบอกมากราบบังทูลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ กรุงธรบุรี ของอยู่ในขอบขัณฑสีมาสืบไป ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯ ให้ท้าวทนเป็นพระขัติยะวงศาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบมา นับปี พ.ศ.2318 นับมาถึงวันนี้ เมืองร้อยเอ็ดจึงมีอายุได้ 206 ปีแล้ว
พระขัติยะวงศา เจ้าเมืองคนแรกของร้อยเอ็ด ท่านเป็นคนเก่งบ้านเมืองจึงเจริญอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับเมืองสุวรรณภูมิที่มีแต่เสื่อมลงๆ ซึ่งปรากฏว่า เมื่อท้าวเชียงถึงแก่อนิจกรรมนั้น ท้าวศูนย์หาได้ขึ้นนั่งเมืองไม่ กลับกลายเป็นท้าวโล๊ะ บุตรชายของท้าวเชียงขึ้นครองเมืองแทน มีบรรดาศักดิ์เป็น พระรัตนวงษา อันเป็นบรรดาศักดิ์ของผู้ครองเมืองสุววรณภูมิต่อมาอีกหลายองค์ จนกระทั่ง รัชกาลที่ 5 ทรงจัดปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลนั้นปรากฏว่าเมืองสุวรรณ ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอขึ้นกับร้อยเอ็ด ความเจริญของสุวรรณภูมิจึงหมดลงเพียงแค่นี้ ส่วนร้อยเอ็ดก็เป็นเมืองใหญ่ จนกระทั่งเป็นจังหวัดในปัจจุบัน
ประวัติเมืองร้อยเอ็ดเล่าว่า การที่บุตรชายคนโตของพระอาจารย์แก้วมีนามว่า ท้าวมืด นั้นก็เพราะเกิดในวันที่มีสุริยุปราคา ท้องฟ้ามืดมิดเหมือนกลางคืน ก็เลยตั้งชื่อบุตรชายว่า ท้าวมืดท้าวมืดปกครองบ้านทุ่งหรือเมืองสุวรรณภูมิอยู่นานถึง 43 ปี นับว่าอายุยืนยาว มาถึงอนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2306 พอท้าวมืดตายไปความยุ่งยากก็เกิดขึ้นที่เมืองสุวรรณภูมิ นับถือ บุตรชายสองคนของท้าวมืด คือ ท้าวเชียง และ ท้าวศูนย์ อยากจะขึ้นครองเมืองสุวรรณภูมิเสียงเอง แต่ท้าวทนซึ่งเป็นอาและเป็นอุปฮาดก็ไม่ฟังเสียงขึ้นครองเมืองสุวรรณภูมิต่อมา เป็นเหตุให้เท้าเชียงและท้าวศูนย์ไม่พอใจอย่างยิ่งจึงพากันหนีจากเมืองสุวรรณภูมิลงมาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยาของพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พร้อมกับของทัพไปตีเมืองสุวรรณภูมิ ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ ณ กรุงศรีอยุธยา โปรด ฯ ให้พระยาพรหม และ พระยากรมท่า เดินทางไปจัดการบ้านเมืองแถบนี้ให้เรียบร้อย โดยมีท้าวเชียงและท้าวศูนย์ ร่วมมาในคราวนั้นพร้อมด้วยไพร่พลส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาข่าวหลายทั้งสองไปขอทัพจากกรุงศรีอยุธยารู้ถึงท้าวทน ก็รู้สึกแค้นในเป็นประมาณ แต่ก็ไม่อาจจะสู้ทัพกรุงศรีอยุธยาได้ พอกองทัพจวนจะมาถึงท้าวทนก็หนีออกจากเมืองทุ่ง ไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านกุดจอก หรือบ้านดงเมืองจอก หรือบ้านดงเมืองจอก ซึ่งอยู่ในในเขตอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน เมื่อพระยาพรหม พระยากรมท่า ท้าวเชียง และ ท้าวศูนย์มาถึงเมืองทุ่งก็เข้าได้โดยง่าย พระยาพรหม พระยากรมท่าได้ให้ท้าวเชียงขึ้นครองทุ่งและท้าวศูนย์เป็นอุปฮาด ก็นับว่าเป็นที่สมปรารถนาของท้าวเอทั้งสอง ด้วยเหตุนี้เอง อาณาเขตของเมืองทุ่งจึงตกอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุยา แทนที่จะขึ้นต่อนครจำปาศักดิ์เหมือนเดิม
ท้าวเชียงและท้าวศูนย์นั้น เห็นทีจะเป็นผุ้มีสติปัญญาอ่อนแอด้วยปรากฏว่า เมื่อขึ้นนั่งเมืองแล้ว ท้าวเชียงต้องไปอ้อนวอนขอโทษท้าวทนผู้เป็นอา ให้มาช่วยปกครองบ้านเมือง คล้ายๆกับเป็นที่ปรึกษาท้าวทนถึงจะโกธรหลายแต่ก็ทนอ้อนวอนไม่ไหว จึงมาช่วยปกครองเมืองสืบมา ในปี พ.ศ. 2315 ได้ย้ายที่ตั้งเมืองจากบ้านทุ่งไปตั้งที่บ้านดงช้างสาร ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองเดิมประมาณ 100 เส้น หรือ 4 กิโลเมตรเมื่อสร้างเมืองใหม่แล้วก็ให้ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ และนี่ก็คืออำเภอหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นเองเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2318
ท้าวทน ซึ่งมาช่วยหลานปกครองเมืองสุวรรณภูมิ ทนเหมือนชื่อต่อไปอีกไม่ไหว จึงชวนสมัครพรรคพวกที่ภักดีต่อตน พร้อมกับเทครัวอพยพออกจากเมืองสุวรรณภูมิ เดินทางมุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือหวังไปตาบเอาดาบหน้า จนกระทั่งมาถึงบริเวณบ้านกุ่ม อันเคยเป็นที่ตั้งเมืองร้อยเอ็ดแต่โบราณ ซึ่งร้างไปเป็นร้อยๆ ปีมาแล้ว ท้าวทนเห็นว่าบริเวณนี้เป็นชัยภูมิอันดี ควรจะตั้งเมืองใหม่ จึงหยุดพักไพร่พลสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ บริเวณเก่าของร้อยเอ็ดเจ็ดประตู
เมื่อสร้างเมืองขึ้นแล้ว ก็มีใบบอกมากราบบังทูลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ กรุงธรบุรี ของอยู่ในขอบขัณฑสีมาสืบไป ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯ ให้ท้าวทนเป็นพระขัติยะวงศาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบมา นับปี พ.ศ.2318 นับมาถึงวันนี้ เมืองร้อยเอ็ดจึงมีอายุได้ 206 ปีแล้ว
พระขัติยะวงศา เจ้าเมืองคนแรกของร้อยเอ็ด ท่านเป็นคนเก่งบ้านเมืองจึงเจริญอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับเมืองสุวรรณภูมิที่มีแต่เสื่อมลงๆ ซึ่งปรากฏว่า เมื่อท้าวเชียงถึงแก่อนิจกรรมนั้น ท้าวศูนย์หาได้ขึ้นนั่งเมืองไม่ กลับกลายเป็นท้าวโล๊ะ บุตรชายของท้าวเชียงขึ้นครองเมืองแทน มีบรรดาศักดิ์เป็น พระรัตนวงษา อันเป็นบรรดาศักดิ์ของผู้ครองเมืองสุววรณภูมิต่อมาอีกหลายองค์ จนกระทั่ง รัชกาลที่ 5 ทรงจัดปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลนั้นปรากฏว่าเมืองสุวรรณ ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอขึ้นกับร้อยเอ็ด ความเจริญของสุวรรณภูมิจึงหมดลงเพียงแค่นี้ ส่วนร้อยเอ็ดก็เป็นเมืองใหญ่ จนกระทั่งเป็นจังหวัดในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น