ประวัติจังหวัด จังหวัดหนองบัวลำภู
เป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นชุมชนเมืองเล็ก
ๆ กระจายกันอยู่ทั่วไปมีหลักฐานที่ค้นพบปรากฏให้เห็นเด่นชัด ได้แก่
แหล่งโบราณคดีโนนพร้าว บ้านกุดคอเมย ต.กุดดู่ และบ้านกุดกวางสร้อย ต. บ้านถิ่น
อ.โนนสัง ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์
ภาชนะดินเผาทั้งแบบผิวเรียบและแบบตกแต่งผิวด้วยการเขียนสีและลวดลายต่าง ๆ แวดินเผา
หินบดเผาเครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสำริด อายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว
ยุคประวัติศาสตร์ มนุษย์เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ค้นพบโบราณวัตถุสมัยทวาราวดี
เช่น ใบเสมาหินทรายวัดพระธาตุเมืองพิณ อ.นากลาง และใบเสมาหินทรายวัดป่าโนนคำวิเวก
อ.สุวรรคูหาจนถึงสุโขทัยเมื่อสิ้นสมัยวัฒนธรรมขอมก็ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรม ไทยลาว
(ล้านช้าง) เข้ามาแทนที่ประมาณ ปี พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต
(เวียงจันทร์)
ได้นำผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยได้สร้างพระพุทธรูปและศิลาจารึกไว้ที่วัดถ้ำ สุวรรณคูหา
อ.สุวรรณคูหา และได้มาสร้างพระพุทธรูป วิหาร
และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดในหรือวัดศรีคูณเมืองและยกฐานะขึ้นเป็นเมือง
"จำปานครกาบแก้วบัวบาน" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า
"เมืองหนองบัวลุ่มภู"
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2117 ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่
1 ให้แก่พม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขณะนั้นพระชนมายุได้ 19 พรรษา
ครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ได้ตามเสด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดา นำกองทัพพักแรมที่บริเวณริมหนองบัวแห่งนี้
สมเด็จพระนเรศวรได้ประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับ สมัยพระวอ พระตาครองเมือง พ.ศ. 2292
พระยาวรราชภักดีและพระตาดวงสา ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่บ้านหินโงม
นครเวียงจันทร์ได้อพยพหนีข้ามลำน้ำโขง พาขุนศึกลูกพี่ลูกน้องและไพร่พลสมัครพรรคพวกที่อยู่ในความปกครองของตน
มาตั้งหลักปักฐานสร้างเมือง "จำปานครกาบแก้วบัวบาน" ขึ้นใหม่ประมาณปี
พ.ศ. 2302
ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ.2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นมาช่วยพระตา-พระวอราช
ภักดี ขับไล่กองทัพพระเจ้าสิริบุตสารออกไปจากอาณาเขตของไทย
แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และนำพระแก้วมรกต
และพระพุทธรูปปางต่างๆนำกลับมาถวายพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 - 2406
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาทางกรุงเทพฯ
จึงส่งกองทัพไทยมาปราบ เจ้าอนุวงษ์ ได้ถอยทัพกลับมาตั้งรับอยู่ที่หนองบัวลำภู
ฝ่ายไทยติดตามขับไล่ตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เวียงจันทน์
แล้วนำตัวกลับไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 4 ได้จัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองทางลุ่มน้ำโขงใหม่
โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา เมืองหนองบัวลุ่มภูขึ้นกับเมืองหนองคาย
ต่อมาในช่วงหนองบัวลุ่มภูขึ้นสังกัดอยู่กับหัวเมืองลาวพวน พระประทุมเทวาภิบาล
เจ้าเมืองหนองคายได้แต่งตั้งพระวิชดยดมกมุทเขต มาครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองกมุทชาสัย" พ.ศ.2449
ได้โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยเป็น "เมืองหนองบัวลำภู"
ขึ้นอยู่บริเวณหมากแข้ง พ.ศ.2450
ได้โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่างๆในบริเวณหมากแข้งตั้งเป็งเมือง จัตวา
เรียกว่าเมืองอุดรธานี ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ
เมืองหนองบัวลำภูจึงกลายเป็น "อำเภอหนองบัวลำภู" ขึ้นกับจังหวัดอุดรธานี
โดยมีพระวิจารณ์กมุทกิจเป็นนายอำเภอคนแรก
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระจายอำนาจมายังส่วนภูมิภาค
เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การให้บริการของรัฐการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
การส่งเสริมให้ท้องถิ่นเจริญยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
จึงได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภูตามร่างเสนอของนาย
เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัยและคณะ แล้วประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งแต่วันที่
1 ธันวาคม 2536 โดยกระกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่
125 ลงวันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2536 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น