ประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์
สมัย กรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ.2310 พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทน์
ได้สิ้นพระชนม์
โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสนได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์และได้สถาปนา ขึ้นเป็น
พระเจ้าแผ่นดินสืบแทน ทรงพระนามว่า "พระเจ้าศิริบุญสาร" พ.ศ. 2320 ท้าวโสมพะมิตร และ อุปราชเมืองแสนฆ้องโปง
เมืองแสนหน้าง้ำเกิดขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสาร
จึงรวบรวมผู้คนอพยพจากดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ข้ามมาตั้งบ้านเรือนบริเวณลุ่มน้ำก่ำแถบบ้านพรรณา
(ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร) ต่อมาท้าวศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา
ท้าวโสมพะมิตรจึงอพยพต่อไปโดยแยกเป็น 2 สาย คือ
สายที่
1 มี เมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า
อพยพไปทางทิศตะวันออกสมทบกับพระวอหลบหนีไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ขอพึ่งบารมี ของ
พระเจ้าหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือน ณ ดอนค้อนกอง
ต่อมาเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก"
ในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสาร
ให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพมาปราบ พระวอตายในสนามรบ
ผู้คนที่เหลือจึงอพยพไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูล ชื่อว่า "ดอนมดแดง"
(ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี)
สายที่
2 มีท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า
ได้อพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้ และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น
ต่อมาท้าวโสมพะมิตร ได้ส่งท้าวตรัยและคณะ
ออกเสาะหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาประมาณปีเศษจึงพบทำเลที่เหมาะสม
คือบริเวณลำน้ำปาวและเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือยมีดิน น้ำอุดมสมบูรณ์
จึงอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนและได้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
พ.ศ. 2336 ท้าวโสมพะมิตรได้ นำเครื่องบรรณาการ
คือ กาน้ำสัมฤทธิ์ เข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
และขอตั้งบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง ได้รับพระราชทานนามว่า "กาฬสินธุ์"
และได้แต่งตั้งให้ ท้าวโสมพะมิตรเป็น "พระยาชัยสุนทร"
พ.ศ. 2437 สมัยพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก)
ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล มี มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล
และให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น "อำเภออุทัยกาฬสินธุ์"
ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ 1 สิงหาคม 2456 ได้ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็น
"จังหวัดกาฬสินธุ์" ให้มีอำนาจปกครอง อำเภออุทัยกาฬสินธุ์
อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอ กมลาไสย และอำเภอยางตลาด
โดยให้ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ
ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และ 1 ตุลาคม 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จนถึงปัจจุบัน
กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน
จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า
ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336
โดยท้าวโสมพะมิตร
ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล
และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า “บ้านแก่งสำโรง”
แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง
และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ
“เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
“กาฬ” แปลว่า “ดำ”
“สินธุ์” แปลว่า “น้ำ”
กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น “พระยาชัยสุนทร” ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก
จังหวัด
กาฬสินธุ์ ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 519 กิโลเมตร
มีเนื้อที่ ประมาณ 6,946.746 ตร.กม. หรือ ประมาณ 4,341,716
ไร่ หรือ ร้อยละ 4.5 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศเหนือ
|
ติดต่อกับ
|
จังหวัดสกลนคร และ จังหวัดอุดรธานี
โดยมีลำน้ำปาวและ
ห้วยลำพันชาดเป็นแนวกั้นแบ่งเขต |
ทิศใต้
|
ติดต่อกับ
|
จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
|
ทิศตะวันออก
|
ติดต่อกับ
|
จังหวัดสกลนครและจังหวัดมุกดาหาร
โดยมี สันปันน้ำของเทือกเขาภูพานเป็นแนวแบ่งเขต
|
ทิศตะวันตก
|
ติดต่อกับ
|
จังหวัดมหาสารคาม
โดยมีลำน้ำชีเป็นเส้นแบ่งเขตและบางส่วนติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น