วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติจังหวัดขอนแก่น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

จังหวัดขอนแก่น

แม้ขอนแก่นจะเป็นบ้านเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้ก็ตาม แต่ในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณเขตจังหวัดขอนแก่นเคยมีชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ได้เข้ามาอาศัยก่อนแล้ว เช่น การค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง พบว่ามีเครี่องปั้นดินเผาที่มีอายุยาวนาน ต่อมาชุมชนเหล่านี้กลายเป็นเมืองขึ้นในสมัยทวารวดี ก่อนที่ขอมจะมามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้ เช่น พบแหล่งโบราณคดีที่วัดศรีเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งปรากฏจารึกศรีเมืองแอมที่ขอมได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้หรือที่ปรากฏเป็นปรางค์กู่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ พื้นที่ส่วนนี้ยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายกันตามพื้นที่ราบสูง ในปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย

เจ้าแก้วบุฮม (แก้วบรม) กับพระยาเมืองแพน (หรือเพี้ยเมืองแพน) สองพี่น้อง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) ได้ยกกองทัพจากบ้านเพี้ยปู่ เขตแขวงเมืองทุละคม (ธุระคม) ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ในทุกวันนี้ ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่บ้านโพธิ์ตาก (บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านกง อำเภอเมืองขอนแก่น) และบ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโนน อำเภอกระนวน) บ้านโพธิ์ชัย (บ้านโพธิ์ชัย อำเภอมัญจาคีรี) เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นชื่อเมืองมัญจาคีรี โดยมีจางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเชษ (สน สนธิสัมพันธ์) เป็นเจ้าเมืองคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2433-2439 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระเกษตรวัฒนา (โส สนธิสัมพันธ์) เมื่อ พ.ศ. 2439-2443 และมีปรากฏประวัติเมืองมัญจาคีรีในหนังสือประวัติจังหวัดในประเทศไทย ในห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) บ้านสร้าง บ้านชีโหล่น (อยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน)

ในปัจจุบัน บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภออาจสามารถ (จังหวัดร้อยเอ็ด) บางบ้านก็อยู่ในเขตจังหวัดยโสธร บางบ้านก็อยู่ที่อำเภอมัญจาคีรี และบางบ้านก็อยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว (จังหวัดยโสธร) เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเมืองในสมัยหลัง ๆ ต่อมานั่นเอง

เจ้าแก้วบุฮมได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธิ์ชัย พระยาเมืองแพนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชีโหล่น คุมไพร่พลคนละ 500 คน ขึ้นกับเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2331 เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ยกขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่)

บึงบอนหรือดอนพยอมในปัจจุบันได้ตื้นเขินเป็นที่นาไปหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฏเป็นรูปของบึงซึ่งมีต้นบอนขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรว่า

เอกสารพงศาวดารอีสานฉบับพระยาขัติยวงศา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ได้กล่าวถึงการตั้งเมืองขอนแก่นว่า


“...ได้ทราบข่าวว่าเมืองแพน บ้านชีโล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎร ไพร่พลประมาณ 330 คน แยกจากเมืองสุวรรณภูมิไปขอตั้งฝั่งบึงบอนเป็นเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น...ขอนแก่นจึงได้ที่มาว่าเป็นเมืองคู่กับมหาสารคามนั้นเอง


ประวัติจังหวัดยโสธร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติจังหวัดยโสธร
ยโสธร
                 เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย จัดตั้งโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป โดยมีนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก[3]

จังหวัดยโสธรเดิมเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านสิงห์ท่า ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกฐานะเป็นเมืองยโสธร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ถึง พ.ศ. 2443 รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานีจนถึง พ.ศ. 2450 เมื่อยุบบริเวณอุบลราชธานี จัดตั้งเป็นจังหวัดอุบลราชธานี จึงเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี กระทั่งมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว
                      จังหวัดยโสธรอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 128 เมตร ตั้งศาลากลางจังหวัดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ณ ละติจูด 15° 47´.6 เหนือ ลองจิจูด 104° 08´.7 ตะวันออก ประกอบด้วยอำเภอ 9 อำเภอ, ตำบล 78 ตำบล และหมู่บ้าน 835 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,162 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี, ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีภูเขาขนาดเล็กเป็นบางบริเวณในตอนเหนือของจังหวัด ด้านตะวันตกของจังหวัดมีลำน้ำยังไหลผ่านจากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่แม่น้ำชี

                       ในด้านเศรษฐกิจ ในพื้นที่จังหวัดยโสธรมีการทำนา ปลูกปอแก้ว มันสำปะหลัง และถั่วลิสง มีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ พระธาตุยโสธร พระธาตุก่องข้าวน้อย สวนสาธารณะพญาแถน หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน ซากเมืองโบราณบ้านสงเปือย ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย พระธาตุกู่จาน ภูถ้ำพระ เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน รอยพระพุทธบาทจำลอง


ประวัติจังหวัดอุดรธานี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุดรธานี
อุดรธานี 
                เป็นจังหวัดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มน้ำโขง เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นบ้านเดื่อหมากแข้งซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง อุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองสำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนืออย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรี พระเจ้าบรมวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เกิดจากการรวมกันของหัวเมืองฝ่ายเหนือ คือ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน และบ้านเดื่อหมากแข้ง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) อันดับที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศและของโลก มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ จังหวัดอุดรธานีเคยเป็นที่ตั้งของมณฑลอุดรในสมัยรัตนโกสินทร์ มีอาณาเขตปกครองกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ ปัจจุบันอุดรธานีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทั้งอากาศและทางถนนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางหน่วยงานราชการและด้านเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งมีศูนย์ประชุมและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วย


ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
              จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย
ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี
              เมื่อปีพุทธศักราช 2228 เกิด วิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เพราะกลุ่มจีนฮ่อธงขาวยกกำลังปล้น เมืองเจ้านครเชียงรุ้งคือ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และเจ้าปางคำ ได้อพยพไพร่พลมาขอพึ่งบารมีพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ของเวียงจันท์ จึงโปรดให้นำไพร่พลไปตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) โดยตั้งชื่อเมืองว่า นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน
            ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดาได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอซึ่งมีความสำคัญต่อเมืองอุบลราชธานีอย่างยิ่ง เพราะต่อมา ปีพุทธศักราช 2314 เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างเวียงจันท์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแผ่นดินเวียงจันท์ ขอบุตรธิดาของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไปเป็นนางห้ามและนางสนม แต่เจ้าพระตา เจ้าพระวอไม่ให้ เจ้าสิริบุญสาร จึงส่งกองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้ และกองทัพเวียงจันท์ต้องพ่ายกลับไปหลายครั้ง
            การรบระหว่างเวียงจันทร์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กินเวลายาวนานถึง 3 ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน เจ้าสิริบุญสารได้ส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยมีเงื่อนไขเวียงจันทร์ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า กองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ จึงให้ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสารรบ เมื่อฝ่ายเจ้าพระตาทราบข่าวศึก คะเนคงเหลือกำลังที่จะต้านศึกกองทัพใหญ่กว่าไว้ได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้าคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็ก ผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ไว้รอท่า หากแพ้สงครามจะได้อพยพติดตามมาอยู่ด้วย
                                                                                            
                                                                                              คำขวัญจังหวัด
อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี
มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน
ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์

ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติจังหวัดหนองบัวลำภู

ประวัติจังหวัด หนองบัวลำภู


ประวัติจังหวัด จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นชุมชนเมืองเล็ก ๆ กระจายกันอยู่ทั่วไปมีหลักฐานที่ค้นพบปรากฏให้เห็นเด่นชัด ได้แก่ แหล่งโบราณคดีโนนพร้าว บ้านกุดคอเมย ต.กุดดู่ และบ้านกุดกวางสร้อย ต. บ้านถิ่น อ.โนนสัง ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ภาชนะดินเผาทั้งแบบผิวเรียบและแบบตกแต่งผิวด้วยการเขียนสีและลวดลายต่าง ๆ แวดินเผา หินบดเผาเครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสำริด อายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว  ยุคประวัติศาสตร์ มนุษย์เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ค้นพบโบราณวัตถุสมัยทวาราวดี เช่น ใบเสมาหินทรายวัดพระธาตุเมืองพิณ อ.นากลาง และใบเสมาหินทรายวัดป่าโนนคำวิเวก อ.สุวรรคูหาจนถึงสุโขทัยเมื่อสิ้นสมัยวัฒนธรรมขอมก็ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรม ไทยลาว (ล้านช้าง) เข้ามาแทนที่ประมาณ ปี พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทร์) ได้นำผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยได้สร้างพระพุทธรูปและศิลาจารึกไว้ที่วัดถ้ำ สุวรรณคูหา อ.สุวรรณคูหา และได้มาสร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดในหรือวัดศรีคูณเมืองและยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "จำปานครกาบแก้วบัวบาน" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "เมืองหนองบัวลุ่มภู"   ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2117 ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 ให้แก่พม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขณะนั้นพระชนมายุได้ 19 พรรษา ครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ได้ตามเสด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดา นำกองทัพพักแรมที่บริเวณริมหนองบัวแห่งนี้ สมเด็จพระนเรศวรได้ประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับ   สมัยพระวอ พระตาครองเมือง พ.ศ. 2292 พระยาวรราชภักดีและพระตาดวงสา ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่บ้านหินโงม นครเวียงจันทร์ได้อพยพหนีข้ามลำน้ำโขง พาขุนศึกลูกพี่ลูกน้องและไพร่พลสมัครพรรคพวกที่อยู่ในความปกครองของตน มาตั้งหลักปักฐานสร้างเมือง "จำปานครกาบแก้วบัวบาน" ขึ้นใหม่ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา  สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ.2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นมาช่วยพระตา-พระวอราช ภักดี ขับไล่กองทัพพระเจ้าสิริบุตสารออกไปจากอาณาเขตของไทย แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และนำพระแก้วมรกต และพระพุทธรูปปางต่างๆนำกลับมาถวายพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี  สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 - 2406 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาทางกรุงเทพฯ จึงส่งกองทัพไทยมาปราบ เจ้าอนุวงษ์ ได้ถอยทัพกลับมาตั้งรับอยู่ที่หนองบัวลำภู ฝ่ายไทยติดตามขับไล่ตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เวียงจันทน์ แล้วนำตัวกลับไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพฯ  พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 4 ได้จัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองทางลุ่มน้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา เมืองหนองบัวลุ่มภูขึ้นกับเมืองหนองคาย ต่อมาในช่วงหนองบัวลุ่มภูขึ้นสังกัดอยู่กับหัวเมืองลาวพวน พระประทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายได้แต่งตั้งพระวิชดยดมกมุทเขต มาครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองกมุทชาสัย"   พ.ศ.2449 ได้โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยเป็น "เมืองหนองบัวลำภู" ขึ้นอยู่บริเวณหมากแข้ง  พ.ศ.2450 ได้โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่างๆในบริเวณหมากแข้งตั้งเป็งเมือง จัตวา เรียกว่าเมืองอุดรธานี ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองหนองบัวลำภูจึงกลายเป็น "อำเภอหนองบัวลำภู" ขึ้นกับจังหวัดอุดรธานี โดยมีพระวิจารณ์กมุทกิจเป็นนายอำเภอคนแรก    เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระจายอำนาจมายังส่วนภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การให้บริการของรัฐการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การส่งเสริมให้ท้องถิ่นเจริญยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา จึงได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภูตามร่างเสนอของนาย เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัยและคณะ แล้วประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยกระกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2536 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน



วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติจังหวัดมุกดาหาร

    
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติจังหวัดมุกดาหาร
 ประวัติจังหวัดมุกดาหาร ตามแรกเริ่มเองก็ไม่ไช่เมืองที่มีความเป็นอยู่ทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากนัก  แต่เป็นเมืองหนึ่งที่มีความสำคัญเพราะว่าเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่  มีความสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์
                เริ่มมีการบันทึกไว้ว่า  ตอนนั้นเมืองเวียงจันทร์เกิดความวุ่นวาย  คือพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต  ได้สวรรคต  มีการแย่งชิงการขึ้นครองราช  และพระยาเมืองแสนกระทำการได้สำเร็จ  ทำให้พระมเหสีของพระเจ้ากรุงศรีสัตนคหุตคนก่อนได้อพยพและได้นำโอรส 2 พระองค์ คือเจ้าองค์หล่อ  และเจ้าองค์หน่อ ได้มาอาศัยกันพระครูโพนเสม็ด  และในช่วงนั้นพระครูโพนเสม็ดมีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมาก  พระยาเมืองแสนทรายข่าวว่า  พระครูโพนเสม็ด ได้ให้ที่พัดอาศัยโอสรทั้งสอง  และมีกำลังพลเป็นของตัวเอง  เกรงว่าจะเป็นภัยมาถึงตัวเอง  จึงได้ยกทัพไปตี  พระครูโพนเสนม็ดจึงได้รวบรวมพล  พาพระโอสรทั้งสองหนีไป  และให้กระจายกันอยู่ตามที่ต่างๆ  ของภาคอีสาน 
                พระครูเสม็ดได้อพยพลงมาทางตอนล่างของมื่น้ำโขงและได้บูรณะพระธาตุพนม  ต่อมาได้เคลื่นมาที่นครจำบากนาคบุรีศรี  และได้ให้พระหน่อกุมารเป็นกษัตริย์  ถวายนามว่า  เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทวางกรู  และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น  นครจำปาศักดิ์ พ.ศ. 2256  และได้แต่ตั้งเจ้าสุริยวงส์  เป็นเจ้าเมืองโพนสิม  เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของมุกดาหาร
                ต่อมาเจ้าสุริยวงษ์ถึงแก้กรรม  เจ้ากนรีจึงได้ครองเมืองหลวงโพนสิม  ตอนที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุง พ.ศ. 2310 หลังจากนั้นได้ย้ายอบอพยพ  มาบริเวณมุกดาหารในปัจจุบัน  โดยการข้ามน้ำโขงมาบริเวณปากห้วยมุกหรือว่าห้วยบางมุก  เนื่องด้วยบริเวณนนั้นมีหอยกาบ  หรือว่าชาวพื้นเมืองเรียกหอยกี  เป็นหอยที่มีมุกจะพบบริเวณน้ำโขงตรงบริเวณนั้นย  โดยประมาณ 1 ร้อยตัวจะมีมุกโผ่ลมาเม็ดหนึ่ง  เจ้ากินรี คิดว่าจะตั้งเมืองอยู่ที่นี้  ซึ่งบริเวณนั้น เพราะว่าเห็นสิ่งปลุกสร้างโอราณ  มีพระพุทธรูปโบราณ  แสดงว่าเป้นเมืองร้างมาก่อน  และเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์  นอกจานั้นเจ้ากินรีได้พบต้นตาล 7 ยอด บริเวณริมฝั่งโขง  และในตอนกลางคืนนั้นมีแสดงดวงหนึ่งเปล่งแสงเป้นประกายแวววาว  ออกจากต้นตาลเจ็ดยอดนั้นทุกคืน  จึงคิดว่าเป็นเทพยาดาอยู่ที่บริเวรนั้น 
                นอกจากนั้นบริเวณต้นตาลเจ็ดยอดห่างกันไม่เท่าไหร่  พบพระพุทธรูป 2 องค์ใต้ต้นโพธิ์  มีพระพุทธรูปหล่อด้วยอิญปูนเป็นองค์ใหญ่  ส่วนองค์เล้กเป็นพระพุทธรูปทำด้วยเหล็ก  และได้สร้างวัดขึ้นได้อันเชิญไปประดิษฐอยู่ในวิหาร  แต่ว่าพระพุทธรูปองค์เล็กได้เกิดความอัญเชินมาแล้วกลับไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์เหมือนเดิม  เป้นที่หน้าแปลกใจมาก  และได้อัญเนมาหลายครั้งจนพระพทธรูปองค์นั้นค่อยๆ  จมลงไปในดินเรื่อยๆ  ต่อมาจึงต้องทั้งแท่นบูชาไว้ที่นั้น  ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปบริเวณนั้นได้ถูกเซาะจากกระแสน้ำตลิ่งก็พังลง
                สมัยกรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ใด้โปรเกล้าฯ  ในการปราบหัวเมืองต่างๆ  ทั้งเวียงจันทร์และนครจำปาศักดิ์  และได้รวบรวมเมืองให้เป็นปรึกแผ่น  ประราชธานนามให้  เป็นชื่อเมืองมุกดาหาร  และตอนนี้ได้เมืองมุกดาหารได้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ  อาณาเขตเมืองมุกดาหารในตอนนั้นมีขนาดที่ใหญ่  เทียบเท่ากับมลรัฐหนึ่ง  มีพื้นที่ของทั้งสวองฝั้งแม่น้ำโขงไปจนถึงเมืองญวณ  รวมสุวรรณเขตด้วย อยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาของกรุงเทพมหานคร  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้  ทรงแต่งตั้งให้เจ้าจัทรกินรี  เป็นพระยาจัทรศรีอุปราชามันธาตุราช  ครองเมืองมุกดาหาร  และเป็นเจ้าเมืองคนแรก  โดยมีการปกครองตามแบบธรรเนียมประเพเพณีดั้งเดิมของล้านช้าง  คือมีตำแหน่ง อุปฮาด  ราชวงศ์ ราชบุตร  และผู้ช่วยราชการในการปกครองเมือง  มีกรมการเมืองในการว่าราชการงานต่างๆ  เช่น
                - เมืองแสนว่าราชการฝ่ายเหนือ
                - เมืองจันทรว่าราชการฝ่ายใต้
                - เมืองกลางว่าราชการหนังสือ
                - เมืองขวา  เมืองซ้าย คุมกองทัพ
                - ชาเนตร  เก็บรักษาหนังสือ
                เจ้าเมืองและกรมกรรการเมืองบางตำแหน่ง เป็นทั้งแม่ทัพ  เป็นตำรวจ  เป็นทั้งผู้พิพากษา  ไม่มีเงินเดือน  จึงต้องเก็ยส่วยอากรเข้าคลังเมือง  ส่วหนึ่งจะเก็บไปที่กรุงเทพมหานคร  ส่วนที่เหลือจะแบ่งกับตามตำแหน่ง  เมืองมุกดาหารได้เก็ยส่วยจากชายฉกรรจ์คนล่ะ 2 บาทต่อปี  จากการลักเลข(การสำรวจสำมะโนครัว) พ.ศ. 2502 มีชายฉกรรจ์ถึง 8 พันคนมีมากกว่า มืองอุบลและขอนแก่น  หากไม่มีส่วนก็ต้องหาสิ่งของพื้นบ้านหรือว่าของป่า  เช่น  ฝ่าย  งาช้าง  นอแรด  หนังสัตว์  หมากเหน่ง  เขากวาง 
                การเก็บภาษีก็เก็บสมัยนั้น  เช่น  ยาสูบ  มี 100 ส่วนชัก 10ส่วน  เกลือมี 100 ส่วนชัก 10 ส่วน   ปราบึก  มี 24 ชัก 8  เสียภาษีฝิ่น 2 ตำลึง 
                ในสมัย  รัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369  เมืองเจ้าอนุวงศ์แห่งกรุงเวียงจันทร์ยกทัพไปกวดตอนผู้คนจนถึงเมืองนครราชสีมา  เพื่อกวดต้อนไปยังเมืองเวียงจันทร์  ตอนนั้นเองกองทัพจากกรุงเทพมหานครได้มาปราบ  และได้เกณฑ์เมืองหนองคาย  นครพนม  มุกดาหาร  เขมราฐ  ยโสธร  อุบลราชธานี  ข้ามโขงไปกวดต้อนผู้คน  คือพวกผูไทย  ข่า  กะโซ่  กะเลิง  แสก  ย้อ  จากเมืองวัง  เมืองเซโปน  เมืองพิน  เมืองนอง  จดจนเขตแดนญวณให้มาตั้งบ้านเมืองอยู่ในฝั่งแม่น้ำโขงตะวันตก  เข้ามาอยู่ในท้องที่เมืองมุกดาหาร  นครพนม  สกลนคร  จึงทำให้เมืองมุกดาหารมีกลุมชาติพันธุ์   หลายเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน
                สำหรับอาณาเขตสมัยนั้น ทิศเหนือ ติดกับเขตเมืองนครพนมเขตแดนที่หน้าองค์พระธาตุพนม  มีเมืองขึ้นคือ  เมืองหนองสูง  เมืองพาลุกรกรภูมิ  ทางผั่งโขงตะวันออก มีเมืองวังอ่างคำ  เมืองโซโปน  เมืองพิน  เมืองนอง  จนจดเขตเวียดนาม
                ในสมัยรัชการที่ 4  ได้ทรางโปรดกล้าฯ  สถปณาให้เจ้าหนู  โอรสเจ้าอุปราช(ติสละ) จากราชวงศ์เวียงจันทร์ซึ่งรับราชการอยู่กรุงเทพ  เป็น เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี  เป็นเจ้าเมืองมุกดาหาร (พ.ศ. 2408 -2412)  ถวายราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่กรุงเทพมหานคร   เป็นประเพณีประจำทุกปีเปรียบเสมือนประเทศราช
                ต่อมากล่างถึงวัดศาสนาคริสต์ริมฝั่งโขงในเขตเมืองมุกดาหาร  องค์การศาสนาคริวต์โดยบาตรหลวงโปรดมจากกรุงเทพ  ได้ส่งบาตรหลวงซาเวียร์เคโก้  มาเผยแพร่ตามหัวเมืองในภาคอีสาน  โดยเฉพาะหัวเมืองสองฝั่งโขงเป็นครั้งแรก  ได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์เป็นครั้งที่ อุกบลราชธานีเมือปี พ.ศ. 2424  ในสมัชราชที่ 5 และต่อมาได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ ในพ.ศ. 2428 ที่บ้านสองคอน  ริมฝั่งโขงในเขตเมืองมุกดาหาร
                บรรพบุรุษของเมืองมุกดาหารมีการออกศึกและป้องกันอาณาเขตในหลายครั้ง  เมือง พ.ศ. 2429 เมืองญวณได้ผ่ายแพ้กับฝรั่งเศษ และได้ตกเป็นอาณานิคมของฝั่งเศษ  พระเจ้าแผ่นดินญวณ  คือเจ้าฟ้าฟาหามงิเวียนเทียน  ซึ่งยังทรงพระเยาว์พร้อมด้วยผู้สำเร็จราชการและไพร่พลอีกเป็นจำนวนมากได้อพยพหลบหนีฝรั่งเศษเข้ามาในเขตอาณาจักรไทยทางเมืองลาวกาว(ลาวบ่าว)  เข้ามาทางด่านตึงยะเหลา  เมืองเซโปนอันเป็นเขตแดนมุกดาหาร  พระยามหาอำมาตยธิบดี(หรุ่น  ศรีเพ็ญ)  ข้าหลวงใหญ่และแม่ทัพไทย  ได้ยกกำลังขึ้นมาตั้งอยู่ ณ เขมราฐแล้วสั่งให้กองทัพเมืองเขมราฐ  เมืองมุกดาหาร  เมืองนครพนท  เมืองสกลนคร  ยกทัพไปสกัดกั้นมิให้พระเจ้าแผ่นดินญวณและไพล่พลล่วงล้ำเข้ามา  แต่ยังมีญวณบางกลุ่มที่ข้ามโขงมาสวามิถักดิ์และตั้งเมืองอยู่ในเขตแดนเมืองมุกดาหาร  นครพนม  สกลนคร เป็นครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่ง  ใองมุกดาหารได้เกณฑ์ไพร่พล ไปสู้รบในกรณีปราบฮ่อที่ทุ้งเชียงคำ(ทุ่งไหหิน) ทางฝั่งโขงตะวันออก เมือง พ.ศ. 2428  เมืองมุกดาหารได้เกณฑ์  จำนวนคนไป 249 คน   ช้าง 4 เชือก  ม้า 10 ตัว  โคต่าง 80 ตัว  ปืนคาบศิลา  285 กระบอก  ดินดำ 20 ชั่ง  กระสุน 1,300 ลูก  เรือ 20 ลำ  ข้าวเปลือก 1,500 ถัง  หลังจากที่ปราบได้สำเร็จ  ไพร่พลของมุกดาหาร  ได้ถูกกระสุนตาย 10 คน  สูญหาย 13 คน  เสือกัดตาย 4 คน  ตายเจ็บไข้ 72  รวม 99 คน  ช้าง4 เชือก  เหลืออยู่ครบ  มา 10ตัว ตาย 2 ตัว  โคต่างตาย 50 ตัว 
                แบ่งการปกครองภาคอีสานเป็นสองส่วน  และได้แต่งตั้ง  พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ให้ปกครองและตั้งกองทัพเมืองมณทลลาวพวน  มีกองทัพบัญชาอยู่ที่หนองคาย   มีอำนาจเมืองหนองคาย  หล่มศักดิ์  ไชยบุรี  ท่าอุเทน  นครพนม  สกลนคร  หนองหาน  กมุหาลัย  โพนพิสัย  ขอนแก่นและเมืองมุกดาหาร  รวมทั้งในเมืองฝั่งโขงตะวันออก  คือเมือง  เชียงขวาง  คำเกิด  คำม่วน  บริคัณฑนิคม  ในส่วนของอีสานใต้  โปรเกล้าฯ  ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการหัวเมือง  ลาวกาว  ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี
                ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2436  รศ. 112  ฝรั่งเศษได้บุกยึดดินแดนนฝั่งโขงตะวันออกซึ่งตอนนั้นเป็นเขตแห่งราชอาณาจักรไทย  โดยอ้างว่าดินแดนฝั่งดขงตะวันออกเป็นดินแดนนของญวณ  ได้ขับไล่  ไพล่พลเมืองมุกดาหารที่ด่านทาง  เมืองเซโปน เมืองวัง  ให้ออกมาพ้นฝั่งโขงตะวันออก  ตอนนั้นเมืองมุกดาหารจึงต้องเสียดินแดน 3 ใน 4 ส่วน  ฝั่งโขงตะวันออก ให้กับฝรั่งเศส  เหลือแต่เพียงฝั่งตะวันตก
                เกิดตำรวจภูธรขึ้นเป็นครั้งแรก  เมื่งราชอาณาจักรไทยต้องเสียดินแดนทางฝั่งตะวันออกให้แก่ฝั่งเศสแล้ว  มีสัญญาว่าห้ามมิให้ตั้งก่องทัพหรือว่าเขตของทหารใกล้กว่า 25 กิโลเมตรจากทางฝั่งริมโขง  ทางฝ่ายไทยเลยมีการตั้งตำรวจภูธรขึ้น  สามารถที่จะถออาวุธเช่นเดียวกับทหาร  แตกต่างไปจากตำรวจนครบาลซึ่งไม่ได้ถืออาวุธ  ประจำการตามหัวเมืองริมฝั่งโขง  เช่น  หนองคาย  สกลนคร  มุกดาหาร และนครพนม 
                เมืองมุกดาหารในอดีตนั้น  มีเจ้าเมืองทั้งหมด 7 ท่าน  ดังนี้
                1. พระยาจัทรศรีราชอุปราชามัมธาตุ (เจ้าจันทรกินรี) พ.ศ. 23132347
                2. พระยาจัทรสุริยวงษ์ (กิ่ง)
                3. พระยาจัทรสุริยวงษ์ (พรหม)
                4.เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ดำรงรัฐสมามุกดาหารราธิบดี (เจ้าหนู)
                5. พระยาจัทรสุริยวงษ์ (คำ)
                6. พระยาจัทรสุริยวงษ์ (บุญเฮ้า)
                7. พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จัทรสาขา)
                ต่มมาได้มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชการที่ 5 ได้ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีของการปกครองแบบดังเดิม  เปลี่ยนมาเป็นการปกครองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัก  และมีเงินเดือน  และได้ทรงโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (แสง) เป็น พระจัทรเทพสุริยวงษา  เป็นผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหาร  คนแรกและคนสุดท้าย พ.ศ. 2442 2449  หลังจากนั้นได้เปลี่ยนแปลงการปกครองในรูปแบบต่างๆ  หลายครั้ง  จนถูกยุบเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม  เมื่อ พ.ศ. 2525 ได้ให้อำเภอมุกดาหาร  เป็นจังหวัดมุกดาหา

ประวัติจังหวัดชัยภูมิ

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดชัยภูมิ

        
       

...ประวัติจังหวัด...

          สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิ ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าเป็นเมืองขึ้นกับ เมืองนครราชสีมาแต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และ พ.ศ.2360 "นายแล"ข้าราชการสำนักเจ้า อนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้าย ชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากันหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ ปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอม ขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์อีกต่อไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวง เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรกต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดย หลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งต่อมา เมื่อความแตกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมา เพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทร์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของ คุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์จนแตกพ่ายไปฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่า ถอยจาก เมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้ และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุม พลไม่ยอมเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เกิดความแค้น จึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริม หนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละ ต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้าง ศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูป หล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลาง จังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร

ประวัติจังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติโดยย่อจังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติจังหวัดร้อยเอ็ด
sagate
                  เมืองร้อยเอ็ดเจ็ดประตูแต่โบราณนั้น มาสิ้นชื่อสูญไปเพราะน้ำตามตำนานเมืองเล่าว่า เกิดน้ำท่วมใหญ่ จนกระทั่งเมืองร้อยเอ็ดถล่ม  จนหายกลายเป็นเมืองร้าง ก็คงเหมือนสมัยน้ำท่วมโลกที่ปรากฏในคัมภีร์ไปเบิลครั้งโนอานั่นกระมังเมืองร้อยเอ็ดเลยร้างไปแต่ครั้งนั้นส่วนประวัติศาสตร์ใหม่ของ เมืองร้อยเอ็ด มาเริ่มอีกทีก็ในปีพ.ศ. 2256 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งกระนั้นนครจำปาศักดิ์ อันเป็นเมืองใหญ่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบันยังเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรอยุธยา มีเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เป็นเจ้าผู้ปกครองนครจำปาศักดิ์ ในบรรดาผู้ที่เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูล    เคารพนับถือ มีพระอาจารย์เก่าแก่ของพระองค์คนหนึ่งคือ พระอาจารย์แก้ว ซึ่งเคยมีบุญคุณกันมาเลี้ยงดูอุปการะเป็นอย่างดี เมื่อพระองค์มีอำนาจวาสนานับเป็นกตัญญูกตเวทีน่าสรรเสริญ ครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2261 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้มอบไพร่พลให้พระอาจารย์แก้วประมาณสามพะนคร ไปหาที่สร้างเมืองขึ้นปกครอง พระอาจารย์แก้วจึงเดินทางข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาสู่แผ่นดินภาคอีสานปัจจุบัน ผ่านมาทางเขตเมืองอุบลราชธานี ยโสธรซึ่งสมัยนั้นยังเป็นแผ่นดินร้างว่างเปล่า จนกระทั่งถึงริมแม่น้ำเสียวในเขตบ้านทุ่ง ที่ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิของร้อยเอ็ด ณ บ้านทุ่ง พระอาจารย์แก้วได้สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นนั่นเสร็จแล้วก็ขึ้นปกครองบ้านเมืองอยู่ได้เพียง 2 ปี ก็ถึงอนิจกรรม เมื่อ ปี  พ.ศ. 2263 ดังนั้น เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงโปรดฯ ให้ท้าวมืด บุตรชายคนโตของพระอาจารย์แก้ว เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมา โดยมีท้าวทน น้องชายเป็นอุปฮาด
ประวัติเมืองร้อยเอ็ดเล่าว่า การที่บุตรชายคนโตของพระอาจารย์แก้วมีนามว่า ท้าวมืด นั้นก็เพราะเกิดในวันที่มีสุริยุปราคา ท้องฟ้ามืดมิดเหมือนกลางคืน ก็เลยตั้งชื่อบุตรชายว่า ท้าวมืดท้าวมืดปกครองบ้านทุ่งหรือเมืองสุวรรณภูมิอยู่นานถึง 43 ปี นับว่าอายุยืนยาว มาถึงอนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2306 พอท้าวมืดตายไปความยุ่งยากก็เกิดขึ้นที่เมืองสุวรรณภูมิ นับถือ บุตรชายสองคนของท้าวมืด คือ ท้าวเชียง และ ท้าวศูนย์ อยากจะขึ้นครองเมืองสุวรรณภูมิเสียงเอง แต่ท้าวทนซึ่งเป็นอาและเป็นอุปฮาดก็ไม่ฟังเสียงขึ้นครองเมืองสุวรรณภูมิต่อมา เป็นเหตุให้เท้าเชียงและท้าวศูนย์ไม่พอใจอย่างยิ่งจึงพากันหนีจากเมืองสุวรรณภูมิลงมาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยาของพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พร้อมกับของทัพไปตีเมืองสุวรรณภูมิ ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ ณ กรุงศรีอยุธยา โปรด ฯ ให้พระยาพรหม และ พระยากรมท่า เดินทางไปจัดการบ้านเมืองแถบนี้ให้เรียบร้อย โดยมีท้าวเชียงและท้าวศูนย์ ร่วมมาในคราวนั้นพร้อมด้วยไพร่พลส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาข่าวหลายทั้งสองไปขอทัพจากกรุงศรีอยุธยารู้ถึงท้าวทน ก็รู้สึกแค้นในเป็นประมาณ แต่ก็ไม่อาจจะสู้ทัพกรุงศรีอยุธยาได้ พอกองทัพจวนจะมาถึงท้าวทนก็หนีออกจากเมืองทุ่ง ไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านกุดจอก หรือบ้านดงเมืองจอก หรือบ้านดงเมืองจอก ซึ่งอยู่ในในเขตอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน เมื่อพระยาพรหม พระยากรมท่า ท้าวเชียง และ ท้าวศูนย์มาถึงเมืองทุ่งก็เข้าได้โดยง่าย พระยาพรหม พระยากรมท่าได้ให้ท้าวเชียงขึ้นครองทุ่งและท้าวศูนย์เป็นอุปฮาด ก็นับว่าเป็นที่สมปรารถนาของท้าวเอทั้งสอง ด้วยเหตุนี้เอง อาณาเขตของเมืองทุ่งจึงตกอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุยา แทนที่จะขึ้นต่อนครจำปาศักดิ์เหมือนเดิม
ท้าวเชียงและท้าวศูนย์นั้น เห็นทีจะเป็นผุ้มีสติปัญญาอ่อนแอด้วยปรากฏว่า เมื่อขึ้นนั่งเมืองแล้ว ท้าวเชียงต้องไปอ้อนวอนขอโทษท้าวทนผู้เป็นอา ให้มาช่วยปกครองบ้านเมือง คล้ายๆกับเป็นที่ปรึกษาท้าวทนถึงจะโกธรหลายแต่ก็ทนอ้อนวอนไม่ไหว จึงมาช่วยปกครองเมืองสืบมา ในปี พ.ศ. 2315 ได้ย้ายที่ตั้งเมืองจากบ้านทุ่งไปตั้งที่บ้านดงช้างสาร ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองเดิมประมาณ 100 เส้น หรือ 4 กิโลเมตรเมื่อสร้างเมืองใหม่แล้วก็ให้ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ และนี่ก็คืออำเภอหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นเองเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2318
ท้าวทน ซึ่งมาช่วยหลานปกครองเมืองสุวรรณภูมิ ทนเหมือนชื่อต่อไปอีกไม่ไหว จึงชวนสมัครพรรคพวกที่ภักดีต่อตน พร้อมกับเทครัวอพยพออกจากเมืองสุวรรณภูมิ เดินทางมุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือหวังไปตาบเอาดาบหน้า จนกระทั่งมาถึงบริเวณบ้านกุ่ม อันเคยเป็นที่ตั้งเมืองร้อยเอ็ดแต่โบราณ ซึ่งร้างไปเป็นร้อยๆ ปีมาแล้ว ท้าวทนเห็นว่าบริเวณนี้เป็นชัยภูมิอันดี ควรจะตั้งเมืองใหม่ จึงหยุดพักไพร่พลสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ บริเวณเก่าของร้อยเอ็ดเจ็ดประตู
เมื่อสร้างเมืองขึ้นแล้ว ก็มีใบบอกมากราบบังทูลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ กรุงธรบุรี ของอยู่ในขอบขัณฑสีมาสืบไป ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯ ให้ท้าวทนเป็นพระขัติยะวงศาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบมา นับปี พ.ศ.2318 นับมาถึงวันนี้ เมืองร้อยเอ็ดจึงมีอายุได้ 206 ปีแล้ว
พระขัติยะวงศา เจ้าเมืองคนแรกของร้อยเอ็ด ท่านเป็นคนเก่งบ้านเมืองจึงเจริญอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับเมืองสุวรรณภูมิที่มีแต่เสื่อมลงๆ ซึ่งปรากฏว่า เมื่อท้าวเชียงถึงแก่อนิจกรรมนั้น ท้าวศูนย์หาได้ขึ้นนั่งเมืองไม่ กลับกลายเป็นท้าวโล๊ะ บุตรชายของท้าวเชียงขึ้นครองเมืองแทน มีบรรดาศักดิ์เป็น พระรัตนวงษา อันเป็นบรรดาศักดิ์ของผู้ครองเมืองสุววรณภูมิต่อมาอีกหลายองค์ จนกระทั่ง รัชกาลที่ 5 ทรงจัดปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลนั้นปรากฏว่าเมืองสุวรรณ ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอขึ้นกับร้อยเอ็ด ความเจริญของสุวรรณภูมิจึงหมดลงเพียงแค่นี้ ส่วนร้อยเอ็ดก็เป็นเมืองใหญ่ จนกระทั่งเป็นจังหวัดในปัจจุบัน



ประวัติเมืองมหาสารคาม

ประวัติเมืองมหาสารคาม

พุทธมลฑณอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร

 


      

       เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นเมืองแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมาหลายร้อยปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปาละวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวาราวดี เช่น บริเวณเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) และเมืองนครจำปาศรี โดยพบหลักฐาน เป็นพระยืนกันทรวิชัย พระพิมพ์ดินเผา ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ผ่านมาทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม มหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูด ภาษาอีสาน ชาวไทยย้อและชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี "ฮีตสิบสอง" ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป  
                  เมืองมหาสารคามนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านลาดกุดยางใหญ่ขึ้นเป็นเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408 โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์) เป็นพระเจริญราชเดชเจ้าเมือง มีท้าวบัวทอง เป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด  ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นกับกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวมหาชัยและท้าวบัวทองนั้น เป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา(สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง
                    ต่อมาสร้างวัดดอนเมืองแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 46 คน และผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม  คนปัจจุบัน คือ นายนพวัชร  สิงห์ศักดา

ประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์


ประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์
           สมัย กรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ.2310 พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทน์ ได้สิ้นพระชนม์ โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสนได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์และได้สถาปนา ขึ้นเป็น พระเจ้าแผ่นดินสืบแทน ทรงพระนามว่า    "พระเจ้าศิริบุญสารพ.ศ. 2320 ท้าวโสมพะมิตร และ อุปราชเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำเกิดขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสาร จึงรวบรวมผู้คนอพยพจากดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ข้ามมาตั้งบ้านเรือนบริเวณลุ่มน้ำก่ำแถบบ้านพรรณา (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร) ต่อมาท้าวศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา ท้าวโสมพะมิตรจึงอพยพต่อไปโดยแยกเป็น 2 สาย คือ
      สายที่ 1 มี เมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า อพยพไปทางทิศตะวันออกสมทบกับพระวอหลบหนีไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ขอพึ่งบารมี ของ   พระเจ้าหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือน ณ ดอนค้อนกอง ต่อมาเรียกว่า   "ค่ายบ้านดู่บ้านแก" ในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสาร  ให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพมาปราบ พระวอตายในสนามรบ ผู้คนที่เหลือจึงอพยพไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูล ชื่อว่า "ดอนมดแดง"   (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี) 
      สายที่ 2 มีท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า ได้อพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้ และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น ต่อมาท้าวโสมพะมิตร  ได้ส่งท้าวตรัยและคณะ ออกเสาะหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาประมาณปีเศษจึงพบทำเลที่เหมาะสม คือบริเวณลำน้ำปาวและเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือยมีดิน น้ำอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนและได้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 
        พ.ศ. 2336 ท้าวโสมพะมิตรได้ นำเครื่องบรรณาการ คือ กาน้ำสัมฤทธิ์ เข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี และขอตั้งบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง ได้รับพระราชทานนามว่า "กาฬสินธุ์" และได้แต่งตั้งให้ ท้าวโสมพะมิตรเป็น  "พระยาชัยสุนทร"
        พ.ศ. 2437 สมัยพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล มี มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น "อำเภออุทัยกาฬสินธุ์" ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด
       วันที่ 1 สิงหาคม 2456 ได้ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" ให้มีอำนาจปกครอง อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอ กมลาไสย และอำเภอยางตลาด โดยให้ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด
       วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และ 1 ตุลาคม 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จนถึงปัจจุบัน
        กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตร ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า บ้านแก่งสำโรงแล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า เมืองกาฬสินธุ์หรือ เมืองน้ำดำซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล กาฬแปลว่า ดำ” “สินธุ์แปลว่า น้ำกาฬสินธุ์จึงแปลว่า น้ำดำทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น พระยาชัยสุนทรครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก
     จังหวัด กาฬสินธุ์ ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 519 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 6,946.746 ตร.กม. หรือ ประมาณ 4,341,716 ไร่ หรือ ร้อยละ 4.5 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
จังหวัดสกลนคร และ จังหวัดอุดรธานี โดยมีลำน้ำปาวและ
ห้วยลำพันชาดเป็นแนวกั้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับ
จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
จังหวัดสกลนครและจังหวัดมุกดาหาร โดยมี สันปันน้ำของเทือกเขาภูพานเป็นแนวแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
จังหวัดมหาสารคาม โดยมีลำน้ำชีเป็นเส้นแบ่งเขตและบางส่วนติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น